ศิลปะภาพพิมพ์ เป็นผลงานทัศนศิลป์ลักษณะ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาว
แสดงมิติที่สามสร้างขึ้นโดยการประกอบกันของทัศนธาตุ เช่น เส้นสีแสงเงา รูปร่าง
รูปทรง พื้นผิว สี ฯลฯซึ่งเป็นมิติลวงตาคล้ายกับผลงานจิตรกรรม
แต่แตกต่างกันที่ภาพพิมพ์ใช้การถ่ายทอดสีจากแม่พิมพ์ลงบนระนาบรองรับแทนที่จะเป็น
การขูด ขีด เขียน ป้าย
หลด สลัดฯบนระนาบรองรับโดยตรง ในภาษาอังกฤษเรียก Printmaking หรือ Graphic Arts ซึ่งมีความหมายเดียวกันคือ” ศิลปะภาพพิมพ์ “
กระบวนการหลัก 4 ประการ ของวิธีการทำภาพพิมพ์
1. ภาพพิมพ์ผิวนูน (Relief Printing) คือ กระบวนการพิมพ์ที่พิมพ์จากผิวส่วนที่อยู่สูงบนแม่พิมพ์ ดังนั้นส่วนที่ถูกแกะเซาะออกไปหรือส่วนที่เป็นร่องลึกลงไปจะไม่ถูกพิมพ์ ซึ่งแม่พิมพ์ในลักษณะนี้ เช่น แม่พิมพ์แกะไม้ แม่พิมพ์แกะยาง แม่พิมพ์กระดาษแข็ง แม่พิมพ์วัสดุ เมื่อเวลาพิมพ์แม่พิมพ์เหล่านี้จะใช้เครื่องมือประเภทลูกกลิ้ง ลูกประคบหนัง ทาหมึกลงบนส่วนนูนของแม่พิมพ์ แล้วนำไปพิมพ์ลงบนกระดาษอาจจะพิมพ์ ด้วยมือหรือแท่นพิมพ์ หมึกก็ติดกระดาษเกิดเป็นรูปขึ้นมา
The Kissผลงาน Edvard Munch |
ชีวตหมายเลข 5 ผลงานกมล ศรีวิชัยนันท์ |
3. ภาพพิมพ์พื้นราบ (Planographic Printing หรือ Lithograph) คือ กระบวนการพิมพ์ที่พิมพ์จากพื้นแบนราบ ส่วนที่ถูกพิมพ์และส่วนที่ไม่ต้องการพิมพ์นั้นจะอยู่ในระนาบแม่พิมพ์ บริเวณทั้งสองจะต่างกันเพียงส่วนที่ต้องการพิมพ์จะเป็นไขหรือน้ำมัน แต่อีกส่วนที่ไม่ต้องการพิมพ์จะชุ่มด้วยน้ำ เมื่อเวลาพิมพ์จะใช้ลูกกลิ้งที่มีหมึกเชื้อน้ำมันติดอยู่ กลิ้งลงบนแม่พิมพ์ที่มีน้ำหมาดๆ เมื่อกลิ้งหมึกซึ่งเป็นไขผ่านไปบนแม่พิมพ์ หมึกเชื้อน้ำมันจะติดลงบนส่วนที่เป็นไขของแม่พิมพ์เท่านั้น จากนั้นนำเอากระดาษมาปิดทับบนแม่พิมพ์ เพื่อรีดกดให้หมึกติดกระดาษเกิดเป็นรูปภาพตามที่ต้องการ กลวิธีที่รวมอยู่ภายใต้กระบวนการนี้ ได้แก่ ภาพพิมพ์ครั้งเดียว และภาพพิมพ์หิน
Brustbild Einer Arbeitfrau ผลงาน Kathe Kollwitz |
4. ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม (Silk Screen) คือ กระบวนการพิมพ์ที่พิมพ์ โดยใช้ไม้ปาดสีรีดเนื้อสีผ่านตะแกรงเนื้อละเอียดลงมาสู่วัสดุที่ต้องการพิมพ์ ซึ่งบริเวณที่ไม่ถูกพิมพ์จะเป็นบริเวณตะแกรง ที่ถูกกันเอาไว้ไม่ให้สีลอดผ่านลงมาสู่วัสดุที่ต้องการพิมพ์
Marilyn ผลงาน Andy Warhol |
กมล คงทอง. ศิลปะภาพพิมพ์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปัตตานี :สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2541
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น