ต่อมาเราเริ่มเข้าเนื้อหา "คร่าวๆ" เพราะเราไม่สามารถนำข้อมูลทั้งหมดบนโลกมาได้ เรานำเสนอเพียงสาระสำคัญๆเท่านั้น เย่!!
การเขียนแบบสถาปัตกรรม
การเขียนแบบนั้นมีมากหลายแบบ เช่น
1.การเขียนแบบทัศนียภาพ
2.การเขียนทัศนียภาพจากรูปแบบสัมมเลขา
3.การเขียนทัศนียภาพเส้นโค้ง
4.การเขียนทัศนียภาพของผืนลาดเอียง
5.การเขียนทัศนียภาพทางมุมภายใน
6.การเขียนทัศนียภาพทางขนาน
7.การเขียนทัศนียภาพเงาสะท้อน
8.ร่มเงาในทัศนียภาพ
9.ทัศนียภาพก้ม และแหงนมอง
10.พัฒนาการเขียนทัศนียภาพ
การแนะนำเครื่องมือการเขียนแบบ
กระดานรองเขียนแบบ ใช้สำหรับรองในการเขียนแบบ ควรเป็นกระดานที่ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนมีผิวหน้าเรียบและเกลี้ยงทั้งสองด้าน เพื่อสะดวกในการใช้หมุดกดตรึงกระดาษได้แน่นและสะดวกทั้งในการกดและการถอนหมุดออก จุดมุ่งหมายสำคัญของกระดานรองเขียนแบบนี้อยู่ที่จะต้องมีผิวเรียบ มิฉะนั้นเส้นสายที่เขียนลงบนกระดาษจะปรากฏรอยตามรอยของหน้ากระดานที่รองอยู่ เราก็มีตัวอย่างของแผ่นกระดานให้ได้ชมกัน
รูปที่ 1 กระดานรองเขียนแบบ |
กระดาษเขียนแบบจะมี 4 แบบ
1.กระดาษร่าง มีลักษณะเหมือนกระดาษลอกลายทั่วไป
2.กระดาษปอนด์ มีลักษณะเหมือนกระดาษวาดเขียนทั่วไป
3.กระดาษไข กระดาษชนิดนี้มีเนื้อเรียบแข็งและมีความขุ่นน้อนกว่ากระดาษร่าง
4.กระดาษอื่นๆ กระดาษสี กระดาษขาว-เทา และกระดาษสำหรับพิมพ์แบบ
ซึ่งกระดาษเหล่านี้ที่สำคัญต้องมี **แถบและหมุดติดตรึงกระดาษ**
ใช้ในการตรึงติดกับกระดานรองเขียนแบบ
ส่วนประกอบเครื่องเขียนแบบ
ดินสอเขียนแบบ มีหลายชนิด ชนิดทำเป็นแท่งหุ่มด้วยไม้ บางชนิดใช้แทบกระดาษพันหุ้มไส้ดินสอไว้ ดินสอที่ใช้ในการเขียนแบบมักเป็นขั้นปานกลาง ตั้งแต่ B - 4H และเลือกใช้ให้เหมาะกับกระดาษที่จะเขียนอีกทีหนึ่ง
เครื่องมือเครื่องใช้ในการเขียนแบบ
รูปที่ 2 ไม้บรรทัดที - ฉากแบบมาตรฐานชนิดต่างๆ |
1.เป็นบรรทัดยาวด้านหัวมีไม้ชิ้นเล็กติดขวางได้ฉากกับตัวบรรทัด สำหรับเป็นรางแนบกระชับกับข้างกระดานรองเขียนให้เลื่อนขึ้นลงได้ตามต้องการ
2.เป็นบรรทักที่เลื่อนตามความเคยชิน ที่ไม่ได้เป็นรูปร่างตัวอักษร T
วงเวียน
วงเวียน |
วงเวียนชนิดนี้นั้นช่วยให้การทำงานได้ผลดีตามไปด้วยเสมอหากใช้อย่างถูกต้องและระมัดระวัง นอกจากนั้นช่วยส่งเสริมสมาธิและรู้สึกเพลิดเพลินในการทำงานอีกด้วย
และยังมีอุปกรณ์ในการเขียนแบบอื่นๆอีกมากมาย เช่น
1.เครื่องมือสำหรับเขียนเส้นคดโค้งแบบต่างๆ
2.ไม่บรรทัดสำหรับใช้กะมาตราส่วนย่อแบบต่างๆ
3.เครื่องมือเขียนเส้นหมึก
4.ปากกาคู่ใช้เขียนแบบด้วยเส้นหมึก
5.มีดขูดหรือตัด
6.เครื่องประกอบอำนวยความสะดวกอื่นๆอีกมากมาย
อ้างอิง : เฉลิม รัตนทัศนีย. การเขียนแบบสถาปัตยกรรม.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิ ทยาลัย, 2527
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น