เรามาเริ่มต้นด้วยการนำความคิด จากทฤษฎีการเรียนรู้สู่การประยุกต์ใช้
การนำนวัตกรรมมาใช้ในวงการต่างๆ อาทิ วงการวิทยาศาสตร์ วงการออกแบบ วงการศึกษา
ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่องานในแขนงวิชาเหล่านั้น ซึ่งแม้เป้าหมายคือความสำเร็จ
แต่กระบวนการวิธีที่ดำเนินการกลับมีความหลากหลาย รวดเร็วขึ้น ประหยัดทรัพยากรได้มากยิ่งขึ้น
ทุ่นเวลาการทำงาน น่าสนใจ และปลอดภัยยิ่งขึ้น ให้วงการศึกษาได้มีการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนได้รับประโยชน์ร่วมกัน
ประการแรก นวัตกรรมควรเป็นการค้นพบใหม่ ที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อน
ประการที่สอง นวัตกรรมเป็นการนำวิธีการที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาให้เหมาะสมกับปัญหาที่ประสบอยู่
นั่นคือการนำมาปรับแก้ใหม่ให้เหมาะสมกับปัญหาใหม่
ประการที่สาม วิธีที่มีอยู่แล้วถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ประการที่สี่ แนวคิดใหม่ที่แหวกแนว นอกกรอบทฤษฏีเดิมนำมาทดลองวิจัยและได้ผล
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ควรเริ่มต้นจากการมีทัศนคติเชิงบวก ดังนี้
1. เชื่อว่าปัญหาทุกเรื่องสามารถแก้ไขได้
บุคคลที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้นั้น ควรเป็นบุคคลที่มีทัศนคติเชิงบวกต่อปัญหา หรือ อุปสรรคที่พบ สามารถรับรู้ได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นย่อมแก้ไขได้ไม่วิธีใดก็วิธีหนึ่ง
เพียงแต่ต้องใช้เวลาและแรงกายแรงใจทุ่มเทลงไป และต้องจัดลำดับความสำคัญให้ถูกต้อง
2.กล้ายอมรับการตัดสินใจของทีม
บุคคลที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่สามารถยอมรับความคิดเห็นและการตัดสินใจของผู้อื่นรวมทั้งสามารถยอมรับการวิจารณ์จากเพื่อนร่วมทีมได้
แม้ว่าความคิดของตนเองจะเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ก็ตาม
3.ความสงสัยใคร่รู้
บุคคลที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่มีความสงสัย ความต้องการที่จะรู้เรื่องต่าง ๆ เช่น อยากรู้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร วิธีแก้ปัญหาต้องทำอย่างไร
ความจริงคืออะไร ทำไมถึงต้องเป็นเช่นนั้น ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงไม่ลองวิธีนี้ แค่นี้
ก็สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้แล้ว
4.ชอบความท้าทาย
บุคคลที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่ชอบความท้าทาย ชอบที่จะเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ เพราะคิดว่าอุปสรรคเหล่านี้เป็นสิ่งที่ท้าทาย ต้องพยายามหาทางเอาชนะให้ได้
การที่บุคคลสามารถลดทัศนคติเชิงลบ และเพิ่มทัศนคติในเชิงบวกได้แล้ว จะทำให้กลายเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีคนหนึ่งเลยทีเดียว แม้ว่าแนวความคิดที่นำเสนอหลายครั้งอาจแปลกประหลาด
หรืออาจถูกถูกหัวเราะเยาะ แต่หลาย ๆ ความคิดประหลาดนั้นอาจนำไปสู่ความคิดที่ได้รับการยอมรับ
และนำไปปฏิบัติได้จริง หลายครั้งที่ความคิดใหม่ ๆ สามารถนำมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และนำไปสู่การประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้
อ้างอิง : ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์. ศิลปศึกษาจากทฤษฎีสู่การสร้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น