Translate

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556


ข้อมูลที่กล่าวไป เป็นเพียงตัวอย่างที่หยิบยกขึ้นมา ไม่ใช่ทั้งหมด ของความรู้เกี่ยวกับศิลปะ
ซึ่งเรานำความรู้ทั้งหมดนี้ใช้เพื่อการศึกษาข้างต้น เป็นพื้นฐานของการเรียนศิลปะ
ซึ่งยังมีความรู้อีกมากมายที่เรายังไม่รู้ ซึ่งต้องลงมือปฎิบัติจริง ถึงจะเข้าใจในการทำงานศิลปะ หรือ สร้างผลงานต่างๆ ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง

และสุดท้าย เราได้มีคลิป ให้ชมกัน เป็นเรื่องของ ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ จบการศึกษาจาก วิทยาลัยเพาะช่างมหาวิทยาลัยศิลปากร และ ประกาศนียบัตร Diploma of Fine Arts จากสถาบันศิลปะ Accademia di Belle Arti แห่งกรุงโรม อิตาลี โดยในสมัยเรียนที่ศิลปากรนับได้ว่าเป็นศิษย์รุ่นแรกๆของ ศ.ศิลป์ พีระศรี ผลงานที่โดดเด่นคือประติมากรรมด้านหน้าทางเข้าศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ประจำปี พ.ศ.2541

โดยผ่าน อภินันท์ เกตุกุล อาชีพ ผู้เชี่ยวชาญ ศิลปะไทย









บล็อกนี้จัดทำเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่มีเจตนาระเมิดลิขสิทธิใดๆทั้งสิ้น
วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานสื่อสารมวลชน รหัสวิชา COM226
จัดทำโดย ธีรวิช กิตติมนตรีชัย 5501439 สาขา ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
มหาวิทยาลัยรังสิต ชั้นปีที่ 2
Creative Commons License วีดีโอของฉัน by กู​ กร is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Unported License.

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ศิลปะภาพพิมพ์


ศิลปะภาพพิมพ์ เป็นผลงานทัศนศิลป์ลักษณะ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาว แสดงมิติที่สามสร้างขึ้นโดยการประกอบกันของทัศนธาตุ เช่น เส้นสีแสงเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว สี ฯลฯซึ่งเป็นมิติลวงตาคล้ายกับผลงานจิตรกรรม แต่แตกต่างกันที่ภาพพิมพ์ใช้การถ่ายทอดสีจากแม่พิมพ์ลงบนระนาบรองรับแทนที่จะเป็น การขูด  ขีด เขียน ป้าย หลด สลัดฯบนระนาบรองรับโดยตรง ในภาษาอังกฤษเรียก Printmaking หรือ Graphic Arts ซึ่งมีความหมายเดียวกันคือศิลปะภาพพิมพ์


กระบวนการหลัก 4 ประการ ของวิธีการทำภาพพิมพ์

1. ภาพพิมพ์ผิวนูน (Relief Printing) คือ กระบวนการพิมพ์ที่พิมพ์จากผิวส่วนที่อยู่สูงบนแม่พิมพ์ ดังนั้นส่วนที่ถูกแกะเซาะออกไปหรือส่วนที่เป็นร่องลึกลงไปจะไม่ถูกพิมพ์ ซึ่งแม่พิมพ์ในลักษณะนี้ เช่น แม่พิมพ์แกะไม้ แม่พิมพ์แกะยาง แม่พิมพ์กระดาษแข็ง แม่พิมพ์วัสดุ เมื่อเวลาพิมพ์แม่พิมพ์เหล่านี้จะใช้เครื่องมือประเภทลูกกลิ้ง ลูกประคบหนัง ทาหมึกลงบนส่วนนูนของแม่พิมพ์ แล้วนำไปพิมพ์ลงบนกระดาษอาจจะพิมพ์ ด้วยมือหรือแท่นพิมพ์ หมึกก็ติดกระดาษเกิดเป็นรูปขึ้นมา
The Kissผลงาน Edvard Munch
2. ภาพพิมพ์ร่องลึก (Intaglio Printing) คือ กระบวนการพิมพ์ที่พิมพ์จากส่วนที่อยู่ลึกเป็นร่องของแม่พิมพ์ ซึ่งแม่พิมพ์จะมีส่วนที่นูนและร่องเหมือนกับแม่พิมพ์ผิวนูน แต่เวลาพิมพ์ต้องอุดหมึกลงไป ในร่องลึกและเช็ดบริเวณที่ไม่ต้องการจะพิมพ์ออก แล้วนำกระดาษเปียกน้ำหมาดๆ วางลงบนแม่พิมพ์ จากนั้นพิมพ์ด้วยแท่นพิมพ์ที่มีแรงกดสูงเพื่อกดกระดาษให้ไปดูดซับหมึกขึ้นมา ซึ่งกลวิธีที่รวมอยู่ภายใต้กระบวนการนี้ ได้แก่ ภาพพิมพ์ภาพถ่าย ภาพพิมพ์มัชฌิมรงค์ ภาพพิมพ์อย่างสีน้ำ ภาพพิมพ์จารเข็ม ภาพพิมพ์แกะลายเส้น ภาพพิมพ์กัดกรด ภาพพิมพ์แบบเขียนถ่าน ภาพพิมพ์ กัดกรดพื้นนิ่ม ภาพพิมพ์กัดกรดรูปนูน
ชีวตหมายเลข 5 ผลงานกมล ศรีวิชัยนันท์
3. ภาพพิมพ์พื้นราบ (Planographic Printing หรือ Lithograph) คือ กระบวนการพิมพ์ที่พิมพ์จากพื้นแบนราบ ส่วนที่ถูกพิมพ์และส่วนที่ไม่ต้องการพิมพ์นั้นจะอยู่ในระนาบแม่พิมพ์ บริเวณทั้งสองจะต่างกันเพียงส่วนที่ต้องการพิมพ์จะเป็นไขหรือน้ำมัน แต่อีกส่วนที่ไม่ต้องการพิมพ์จะชุ่มด้วยน้ำ เมื่อเวลาพิมพ์จะใช้ลูกกลิ้งที่มีหมึกเชื้อน้ำมันติดอยู่ กลิ้งลงบนแม่พิมพ์ที่มีน้ำหมาดๆ เมื่อกลิ้งหมึกซึ่งเป็นไขผ่านไปบนแม่พิมพ์ หมึกเชื้อน้ำมันจะติดลงบนส่วนที่เป็นไขของแม่พิมพ์เท่านั้น จากนั้นนำเอากระดาษมาปิดทับบนแม่พิมพ์ เพื่อรีดกดให้หมึกติดกระดาษเกิดเป็นรูปภาพตามที่ต้องการ กลวิธีที่รวมอยู่ภายใต้กระบวนการนี้ ได้แก่ ภาพพิมพ์ครั้งเดียว และภาพพิมพ์หิน
Brustbild Einer Arbeitfrau ผลงาน Kathe Kollwitz

4. ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม (Silk Screen) คือ กระบวนการพิมพ์ที่พิมพ์ โดยใช้ไม้ปาดสีรีดเนื้อสีผ่านตะแกรงเนื้อละเอียดลงมาสู่วัสดุที่ต้องการพิมพ์ ซึ่งบริเวณที่ไม่ถูกพิมพ์จะเป็นบริเวณตะแกรง ที่ถูกกันเอาไว้ไม่ให้สีลอดผ่านลงมาสู่วัสดุที่ต้องการพิมพ์
Marilyn ผลงาน Andy Warhol
อ้างอิง : พีระพงษ์ กุลพิศาล. (2531). มโนภาพและการรับรู้ทางศิลปะ. กรุงเทพมหานคร:หน่วยศึกษานิเทศ. กรมการฝึกหัดครู.
กมล คงทอง. ศิลปะภาพพิมพ์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปัตตานี :สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2541






ต่อมาเราเริ่มเข้าเนื้อหา "คร่าวๆ" เพราะเราไม่สามารถนำข้อมูลทั้งหมดบนโลกมาได้ เรานำเสนอเพียงสาระสำคัญๆเท่านั้น เย่!!

การเขียนแบบสถาปัตกรรม
  การเขียนแบบนั้นมีมากหลายแบบ เช่น
 1.การเขียนแบบทัศนียภาพ
 2.การเขียนทัศนียภาพจากรูปแบบสัมมเลขา
 3.การเขียนทัศนียภาพเส้นโค้ง
 4.การเขียนทัศนียภาพของผืนลาดเอียง
 5.การเขียนทัศนียภาพทางมุมภายใน
 6.การเขียนทัศนียภาพทางขนาน
 7.การเขียนทัศนียภาพเงาสะท้อน
 8.ร่มเงาในทัศนียภาพ
 9.ทัศนียภาพก้ม และแหงนมอง
 10.พัฒนาการเขียนทัศนียภาพ

การแนะนำเครื่องมือการเขียนแบบ 
 กระดานรองเขียนแบบ ใช้สำหรับรองในการเขียนแบบ ควรเป็นกระดานที่ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนมีผิวหน้าเรียบและเกลี้ยงทั้งสองด้าน เพื่อสะดวกในการใช้หมุดกดตรึงกระดาษได้แน่นและสะดวกทั้งในการกดและการถอนหมุดออก จุดมุ่งหมายสำคัญของกระดานรองเขียนแบบนี้อยู่ที่จะต้องมีผิวเรียบ มิฉะนั้นเส้นสายที่เขียนลงบนกระดาษจะปรากฏรอยตามรอยของหน้ากระดานที่รองอยู่ เราก็มีตัวอย่างของแผ่นกระดานให้ได้ชมกัน 
รูปที่ 1 กระดานรองเขียนแบบ

กระดาษเขียนแบบจะมี 4 แบบ 
1.กระดาษร่าง มีลักษณะเหมือนกระดาษลอกลายทั่วไป
2.กระดาษปอนด์ มีลักษณะเหมือนกระดาษวาดเขียนทั่วไป
3.กระดาษไข กระดาษชนิดนี้มีเนื้อเรียบแข็งและมีความขุ่นน้อนกว่ากระดาษร่าง
4.กระดาษอื่นๆ กระดาษสี กระดาษขาว-เทา และกระดาษสำหรับพิมพ์แบบ 
ซึ่งกระดาษเหล่านี้ที่สำคัญต้องมี **แถบและหมุดติดตรึงกระดาษ** 
ใช้ในการตรึงติดกับกระดานรองเขียนแบบ

ส่วนประกอบเครื่องเขียนแบบ
ดินสอเขียนแบบ มีหลายชนิด ชนิดทำเป็นแท่งหุ่มด้วยไม้ บางชนิดใช้แทบกระดาษพันหุ้มไส้ดินสอไว้ ดินสอที่ใช้ในการเขียนแบบมักเป็นขั้นปานกลาง ตั้งแต่ B - 4H และเลือกใช้ให้เหมาะกับกระดาษที่จะเขียนอีกทีหนึ่ง

เครื่องมือเครื่องใช้ในการเขียนแบบ 
รูปที่ 2 ไม้บรรทัดที - ฉากแบบมาตรฐานชนิดต่างๆ
เครื่องมือเขียนเส้นเฉพาะทางนอน มี 2 แบบ 
1.เป็นบรรทัดยาวด้านหัวมีไม้ชิ้นเล็กติดขวางได้ฉากกับตัวบรรทัด สำหรับเป็นรางแนบกระชับกับข้างกระดานรองเขียนให้เลื่อนขึ้นลงได้ตามต้องการ
2.เป็นบรรทักที่เลื่อนตามความเคยชิน ที่ไม่ได้เป็นรูปร่างตัวอักษร T 

วงเวียน
วงเวียน 
วงเวียนที่ใช้ในการเขียนแบบสถาปัตยกรรม หรืองานเขียนแบบอย่างอื่นที่ต้องการความละเอียดถูกต้อง ควรเป็นวงเวียนที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำงานของเครื่องกลไกที่สร้างขึ้นสำหรับความมุ่งหมายนั้น 
วงเวียนชนิดนี้นั้นช่วยให้การทำงานได้ผลดีตามไปด้วยเสมอหากใช้อย่างถูกต้องและระมัดระวัง นอกจากนั้นช่วยส่งเสริมสมาธิและรู้สึกเพลิดเพลินในการทำงานอีกด้วย

และยังมีอุปกรณ์ในการเขียนแบบอื่นๆอีกมากมาย เช่น
1.เครื่องมือสำหรับเขียนเส้นคดโค้งแบบต่างๆ
2.ไม่บรรทัดสำหรับใช้กะมาตราส่วนย่อแบบต่างๆ
3.เครื่องมือเขียนเส้นหมึก
4.ปากกาคู่ใช้เขียนแบบด้วยเส้นหมึก
5.มีดขูดหรือตัด
6.เครื่องประกอบอำนวยความสะดวกอื่นๆอีกมากมาย


อ้างอิง : เฉลิม รัตนทัศนีย. การเขียนแบบสถาปัตยกรรม.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527







ศิลปะ-ศิลปิน กว่าจะเป็นศิลปินต้องมีความรู้มากมายขนาดไหนกัน


เรามาเริ่มต้นด้วยการนำความคิด จากทฤษฎีการเรียนรู้สู่การประยุกต์ใช้

การนำนวัตกรรมมาใช้ในวงการต่างๆ อาทิ วงการวิทยาศาสตร์ วงการออกแบบ วงการศึกษา

ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่องานในแขนงวิชาเหล่านั้น ซึ่งแม้เป้าหมายคือความสำเร็จ
แต่กระบวนการวิธีที่ดำเนินการกลับมีความหลากหลาย รวดเร็วขึ้น ประหยัดทรัพยากรได้มากยิ่งขึ้น
ทุ่นเวลาการทำงาน น่าสนใจ และปลอดภัยยิ่งขึ้น ให้วงการศึกษาได้มีการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนได้รับประโยชน์ร่วมกัน

            ประการแรก นวัตกรรมควรเป็นการค้นพบใหม่ ที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อน

            ประการที่สอง นวัตกรรมเป็นการนำวิธีการที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาให้เหมาะสมกับปัญหาที่ประสบอยู่
นั่นคือการนำมาปรับแก้ใหม่ให้เหมาะสมกับปัญหาใหม่
            ประการที่สาม วิธีที่มีอยู่แล้วถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม
            ประการที่สี่ แนวคิดใหม่ที่แหวกแนว นอกกรอบทฤษฏีเดิมนำมาทดลองวิจัยและได้ผล

การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ควรเริ่มต้นจากการมีทัศนคติเชิงบวก ดังนี้
          1. เชื่อว่าปัญหาทุกเรื่องสามารถแก้ไขได้
          บุคคลที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้นั้น ควรเป็นบุคคลที่มีทัศนคติเชิงบวกต่อปัญหา หรือ อุปสรรคที่พบ สามารถรับรู้ได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นย่อมแก้ไขได้ไม่วิธีใดก็วิธีหนึ่ง

 เพียงแต่ต้องใช้เวลาและแรงกายแรงใจทุ่มเทลงไป และต้องจัดลำดับความสำคัญให้ถูกต้อง
          2.กล้ายอมรับการตัดสินใจของทีม
          บุคคลที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่สามารถยอมรับความคิดเห็นและการตัดสินใจของผู้อื่นรวมทั้งสามารถยอมรับการวิจารณ์จากเพื่อนร่วมทีมได้ 

แม้ว่าความคิดของตนเองจะเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ก็ตาม
          3.ความสงสัยใคร่รู้
          บุคคลที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่มีความสงสัย ความต้องการที่จะรู้เรื่องต่าง ๆ เช่น อยากรู้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร วิธีแก้ปัญหาต้องทำอย่างไร 

ความจริงคืออะไร ทำไมถึงต้องเป็นเช่นนั้น ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงไม่ลองวิธีนี้ แค่นี้
ก็สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้แล้ว

          4.ชอบความท้าทาย
          บุคคลที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่ชอบความท้าทาย ชอบที่จะเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ เพราะคิดว่าอุปสรรคเหล่านี้เป็นสิ่งที่ท้าทาย
 ต้องพยายามหาทางเอาชนะให้ได้

          การที่บุคคลสามารถลดทัศนคติเชิงลบ และเพิ่มทัศนคติในเชิงบวกได้แล้ว จะทำให้กลายเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีคนหนึ่งเลยทีเดียว แม้ว่าแนวความคิดที่นำเสนอหลายครั้งอาจแปลกประหลาด
 หรืออาจถูกถูกหัวเราะเยาะ แต่หลาย ๆ ความคิดประหลาดนั้นอาจนำไปสู่ความคิดที่ได้รับการยอมรับ
และนำไปปฏิบัติได้จริง หลายครั้งที่ความคิดใหม่ ๆ สามารถนำมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และนำไปสู่การประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้


อ้างอิง : ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์. ศิลปศึกษาจากทฤษฎีสู่การสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : 
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

การใช้สัญญาอนุญาติ Creative Commons

ารใช้สัญญาอนุญาติ Creative Commons 


ศิลปะ
ศิลปะของผมเปลี่ยนจากภาพ ของลับ เป็น หน้าคน
.....................
..............
.........
.....
...
..
.

Creative Commons License
วีดีโอของฉัน by กู​ กร is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Unported License.

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

ฝึกโพสวีดีโอ




สวัสดี สวัสดี สวัสดี 
วีดีโอนี้อาจารย์ให้ถ่ายเพื่อฝึกลงยูทูปและอัพโหลดลงบล็อก
จัดทำเพื่อการศึกษาเท่านั้น
นะ
ครับ
จะ
บอก
ให้